เมนู

อย่างนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น ตลอดสมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วย
ธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอดสมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อ
ส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้ . เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก
อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ใน
พระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้น ด้วยทุติยา-
วิภัตติ.

แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย อธิบายว่า สมยศัพท์นี้ต่างกันแต่เพียง
โวหาร ว่า ตสฺมึ สมเย หรือว่า เตน สมเยน หรือว่า ตํ สมยํ เท่านั้น
ทุกปิฎกมีเนื้อความเป็นสัตตมีวิภัตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ถึงท่านกล่าว
ว่า เอกํ สมยํ ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง

แก้อรรถบท ภควา


บทว่า ภควา แปลว่า ครู. จริงอยู่ บัณฑิตทั้งหลาย เรียกครูว่า
ภควาในโลก. และพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ก็ทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้ง
หลาย เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุดโดยคุณทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบว่า
ทรงเป็นภควา แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
ควรแก่ความเคารพโดยฐานเป็นครู ฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า ภควา.